แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ลู่วิ่งไฟฟ้า แสดงบทความทั้งหมด

ลู่วิ่งไฟฟ้า ช็อต! ไขมันให้พุงสั่นสะเทือน

     "  ใครอ้วนยกมือขึ้น !  "

     ถ้าคุณเป็นอีกคนที่กำลังคิดจะลดความอ้วนอยู่หละก็ ขอแค่ อย่าพึ่งล้มเลิกความตั้งใจตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่ม เพราะ "ลู่วิ่งไฟฟ้า" อาจช่วยคุณได้ !

วิ่งลู่วิ่งไฟฟ้า 5 นาที ต่อวัน ! แล้วคุณจะผอม พุงลดลง 5-10 นิ้ว ไขมันหายไป ภายใน 2 สัปดาห์ :-D

     ใครบอกคุณแบบนี้หละก็ อย่าเชื่อเด็ดขาดครับ ไม่จริง 1000%

     หากคุณจะลดพุง สลายไขมัน จะต้องเป็นการออกกำลังกายแบบ Cardiovascular exercise หรือ Aerobic exercise หรือ แบบแอโรบิกนั่นเอง ซึ่งเป็นการออกกำลังกายแบบใช้ออกซิเจน และด้วยการออกำลังกายแบบนี้ จะมีการดึงเอาไขมันที่สะสมภายในร่างกายออกมาใช้เผาผลาญให้เกิดพลังงาน

     และก็ไม่ใช่ว่า ตั้งแต่นาทีแรกที่ลู่วิ่งไฟฟ้าเริ่มหมุนคุณอยู่บนลู่วิ่ง ไขมันของคุณจะถูกเผาผลาญในทั้งที อย่าเข้าใจแบบนั้นเชียว


     ประมาณ 20 นาทีแรก ของการออกกำลังกาย ร่างกายจะยังคงใช้พลังงานจากส่วนที่เป็นสำรองไว้ตามกล้ามเนื้อหรือตับ ก่อน เพราะฉะนั้นหากคุณใช้ลู่วิ่งไฟฟ้าน้อยกว่า 20 นาทีต่อวันแล้วหละก็
"อย่าหวังว่า พุงของคุณจะลดลงได้"
     หลังจาก 20 นาทีเป็นต้นไป ร่างกายจะค่อย ๆ นำไขมันมาใช้ เพราะพลังงานสำรองจากกล้ามเนื้อและตับไม่เพียงพอ หลังจากนี้แหละครับ จุดเริ่มต้นของกระบวนการ "ลดพุง" ทุก ๆ นาที ทุก ๆ ก้าว บนลู่วิ่งไฟฟ้า ต่อจากนี้ จะนำคุณไปสู่เป้าหมายที่คุณตั้งไว้ !

     อย่ามัวรอช้า กดปุ่ม START แล้วเริ่มออกวิ่ง

     *เทคนิคที่จะให้ลู่วิ่งไฟฟ้าช่วยคุณไปถึงเป้าหมายเร็วขึ้น ลอง "วิ่งเร็ว" สลับกับ "วิ่งช้า" สลับไปสลับมา ซึ่งเป็นการออกกำลังกายแบบ High-intensity interval training (HIIT) นี่จะช่วยให้ร่างกายเกิดการเผาผลาญไขมันมากขึ้นเลยทีเดียว

ใช้ ''ลู่วิ่งไฟฟ้า'' อย่างมือโปร

     ในเมื่อคิดจะออกกำลังกายด้วยลู่วิ่งไฟฟ้าแล้ว ก็เอาให้เต็มที่ไปเลย ! วิ่งให้ถูกวิธี วิ่งให้นาน วิ่งให้ไกล พัฒนาตัวเอง ค่อย ๆ ขยับเป้าหมาย คุณจะเริ่มมีความสุขกับการวิ่ง ๆ ๆ แล้วก็วิ่ง แล้วคุณจะรู้สึกภูมิใจในตัวเองมากเลยทีเดียว -^o^-

     ถึงยังไงก็ตาม ไม่ว่าคุณจะตั้งเป้าหมายที่จะวิ่งลู่วิ่งไฟฟ้าไว้ใหญ่สักแค่ไหน ไม่ว่าจะลดน้ำหนัก ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ หรือแม้แต่เตรียมตัวไปแข่งวิ่งมาราธอน เราก็สามารถจะหัดวิ่งบนลู่วิ่งไฟฟ้าให้ถูกวิธีอย่างมือโปรได้ จริงไหมครับ

     เพราะไม่เพียงแค่มันจะทำให้คุณวิ่งได้ดีขึ้น วิ่งได้นานขึ้น เท่านั้น การใช้ลู่วิ่งไฟฟ้าให้ถูกวิธีและวิ่งอย่างถูกหลักนั้น สามารถช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุหรืออาการบาดเจ็บที่อาจจะเกิดจากการวิ่งได้


การวางเท้า

     ส้นเท้าต้องเป็นส่วนที่สัมผัสพื้นก่อน แล้วฝ่าเท้าและปลายเท้าจึงค่อย ๆ สัมผัสพื้นตามลำดับ (ให้ริมเท้าด้านนอกสัมผัสก่อนก็จะช่วยลดแรงกระแทกได้) หลังจากนั้นจึงถีบพื้นด้วยปลายเท้าเพื่อเคลื่อนที่ไปข้างหน้า จังหวะที่เท้าข้างหน้าสัมผัสพื้นต้องเป็นจังหวะที่เข่างอเล็กน้อย

     นักวิ่งเร็วจะวิ่งโดยการใช้ปลายเท้าสัมผัสพื้นก่อน แต่นักวิ่งระยะไกลหรือวิ่งเพื่อสุขภาพควรจะให้ส้นเท้าสัมผัสพื้นก่อน รวมถึงการวิ่งบนลู่วิ่งไฟฟ้าด้วยก็ควรใช้วิธีที่ส้นเท้าลงก่อนครับ

แขนและลำตัว

     แขนแกว่งตามธรรมชาติ งอเล็กน้อยตามความสบาย แต่ไม่ควรงอจนแคบกว่า 90 องศา ปล่อยตามสบายไม่เกร็ง ลำตัวตั้งตรงไม่เอียงตัวไปทางใดทางหนึ่ง ไม่ว่าจะข้างหน้าหรือข้างหนัง

ความเร็ว

     วิ่งจนได้เร็วระดับที่จนรู้สึกว่าหายใจแรง วิ่งไปสักระยะเวลาหนึ่งควรจะมีเหงื่อออก อย่าลืม! เริ่มจากความเร็วต่ำ ๆ ก่อน หากวิ่งไปแล้วรู้สึกว่าหายใจไม่ทัน ใจสั่น เจ็บหน้าอก หูอื้อ ให้ค่อย ๆ ลดความเร็วลง หากยังไม่หายให้เปลี่ยนเป็นเดิน หากยังไม่หายอีกให้หยุดวิ่งก่อน

ความถี่ ระยะเวลาในการวิ่ง

     สำหรับการวิ่งเพื่อสุขภาพอย่างต่ำควรวิ่งให้ได้ 3 วันต่อสัปดาห์ ในหนึ่งสัปดาห์ควรมี 1 วันที่วิ่งเร็ว(การวิ่งเร็วจะช่วยให้หัวใจทำงานแข็งแรง)  และอีก 1 วันที่วิ่งระยะทางไกล ๆ วิ่งจนรู้สึกกล้ามเนื้อปวดเมื่อย (เป็นการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ)

     แล้วอย่าลืมเรื่องง่าย ๆ ในการใช้ลู่วิ่งไฟฟ้าเหล่านี้ด้วยนะครับ เรื่องพื้นฐาน ๆ ที่ผู้ใช้ลู่วิ่งไฟฟ้าไม่ควรลืม !

ลู่วิ่งไฟฟ้า อุปกรณ์ปกป้องข้อเข่า !

     "วิ่ง" ไม่ว่าจะเป็นการวิ่งบนลู่วิ่งไฟฟ้าหรือวิ่งกลางแจ้ง อาจจะเป็นกีฬาหรือการออกกำลังกายที่ใครหลาย ๆ คน คิดไปหรือเชื่อไปเองว่า หากเราวิ่งไปนาน ๆ แล้ว จะทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับข้อเข่า เข่าเสื่อมได้ เนื่องจากเป็นการออกกำลังกายที่ใช้เข่า มีการเสียดสีของเข่าตลอด

     ไม่จริง !

     นั่นอาจจะเป็นเพียงข้ออ้างของคนที่ขี้เกียจออกกำลังกายบางคนก็เป็นได้ ;-D


     จริง ๆ แล้ว การวิ่งทำให้ข้อเข่าเรามีการเสียดสีกันและถูกทำให้เสียหายจริง แต่ก็เป็นปกติของการออกกำลังกาย ร่างกายของคนปกติก็จะสามารถสร้างซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้อยู่แล้ว และของใหม่ที่ถูกสร้างก็จะแข็งแรงมากกว่าเดิมด้วยซ้ำ เหมือนกับนักเล่นกล้ามที่ออกกำลังกายเพื่อทำลายกล้ามเนื้อแล้วกล้ามเนื้อที่ถูกสร้างขึ้นใหม่จะใหญ่ ! กว่าเก่า

     แต่ก็มีข้อยกเว้นนะครับ ไม่ใช่ว่าเราจะทำลายมันมาก ๆ ๆ แล้วหวังว่ามันจะสร้างใหม่เยอะ ๆ จะได้แข็งแรงกว่าเดิม คือ เราต้องมีช่วงเวลาที่เราต้องปล่อยให้มันได้สร้างและซ่อมแซมด้วย เช่น หลังจากการวิ่งควรจะมีการคูลดาวน์ยืดเส้นยืดสาย มีช่วงเวลาหยุดพักบ้างในหนึ่งสัปดาห์ เพราะไม่เช่นนั้นแล้วร่างกายอาจจะเกิดการบาดเจ็บได้

     และที่สำคัญ เราต้องรับประทานอาหารที่เหมาะสม เพื่อที่จะให้ร่างกายนำไปใช้ในกระบวนการซ่อมแซมด้วย

     หากวิ่งอย่างสม่ำเสมอแล้ว ร่างกายจะถูกกระตุ้นให้มีการซ่อมแซมกล้ามเนื้อ ข้อเข่า กระดูกอ่อน กระตุ้นการหลั่งน้ำไขข้อเพื่อหล่อลื่นบริเวณเข่า อย่างต่อเนื่อง จะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้เป็นอย่างดี

     ด้วยประการทั้งปวงที่กล่าวมา ลู่วิ่งไฟฟ้า สามารถเป็น อุปกรณ์ป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมได้ดีอย่างหนึ่งเลยทีเดียว แถมยังช่วยให้ส่วนอื่นของร่างกายอย่างเช่น หัวใจ แข็งแรงอีกด้วย

''มือใหม่'' หัดใช้ลู่วิ่งไฟฟ้า


     วันนี้เราจะมาแนะนำอะไรเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่สำคัญอย่างยิ่งกับคนที่กำลังจะเริ่มต้นออกกำลังกายด้วยลู่วิ่งไฟฟ้า สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ควรคำนึงและปฏิบัติเสมอ ๆ เมื่อคุณใช้ลู่วิ่งไฟฟ้า เพื่อความปลอดภัย และเป็นการใช้ลู่วิ่งไฟฟ้าให้เกิดประโยชน์สูงสุด

     หากคุณพึ่งเคยใช้ลู่วิ่งไฟฟ้าเครื่องนั้นเป็น "ครั้งแรก" ก่อนที่คุณจะเริ่มออกวิ่ง กรุณาสำรวจสักนิด ทำความเข้าใจกับลู่วิ่งนั้น ระบบความปลอดภัยใช้งานอย่างไร ปุ่มหยุดฉุกเฉินอยู่ตรงไหน ปุ่มต่าง ๆ ใช้งานเพื่ออะไรบ้าง จะได้ลดโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุ ไม่ใช่วิ่งไปทดลองกดปุ่มไป อาจจะผิดพลาดตกจากลู่วิ่ง อันตรายครับ


     ก่อนเริ่มวิ่งควรเริ่มปรับระดับความเร็วไปที่ช้า ๆ ก่อน จึงเริ่มวิ่ง แล้วค่อยปรับระดับความเร็วเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากจะเป็นการป้องกันอุบัติเหตุแล้ว ยังเป็นการวอร์มอัพร่างกายก่อนจะเริ่มวิ่งด้วยความเร็ว ซึ่งการวอร์มอัพถือเป็นสิ่งที่เราควรจะทำก่อนออกกำลังกายอยู่แล้วด้วย เพื่อยืดกล้ามเนื้อและลดอาการบาดเจ็บระหว่างออกกำลังกายได้ ประมาณ 5-10 นาทีก็จะดีครับ

     ส่วนใหญ่ที่นิยมวิ่งบนลู่วิ่งไฟฟ้ากัน ก็จะใช้เวลารวมประมาณ 20-45 นาที

     และก่อนจะหยุดวิ่ง ประมาณ 5-10 นาที ควรจะค่อย ๆ ปรับลดความเร็ว (และความชัน) ของลู่วิ่งไฟฟ้าลงมาเรื่อย ๆ จนถึงระดับที่สามารถเดินได้ เพื่อเป็นการคูลดาวน์ให้ร่างกายได้ค่อย ๆ ปรับอัตราการเต้นของหัวใจและการสูบฉีดเลือดให้สมดุล แถมยังช่วยลดอาการเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อหลังจากออกกำลังกายได้อีกด้วย

ก่อนจะซื้อลู่วิ่งไฟฟ้า อย่าลืม ! เรื่องเหล่านี้

     หากคุณตัดสินใจอย่างแน่วแน่แล้วว่า คุณจะวิ่ง ! และจะมีลู่วิ่งไฟฟ้าซักอันตั้งไว้ที่บ้าน เพื่อความสะดวกในการออกกำลังกาย

     หยุด ! อย่าพึ่งรีบซื้อ ถ้าคุณยังไม่ได้พิจารณาเรื่องเหล่านี้ ซึ่งมีผลมากต่อการใช้งานลู่วิ่งไฟฟ้า คุณจะได้ไม่พลาดที่จะได้ลู่วิ่งไฟฟ้าที่เหมาะกับตัวคุณ เพราะลู่วิ่งไฟฟ้าเครื่องหนึ่งก็ไม่ได้ถูก ๆ เลย (ถ้าโอเคหน่อยก็ 3 หมื่นขึ้นไปทั้งนั้น)

     ทำไม ต้องเลือกลู่วิ่งไฟฟ้า มันมีหลายแบบ เหรอ ?

     จริง ๆ มันก็ไม่ได้มีหลายแบบมากมายอะไรหรอกครับ จะต่างกันหลัก ๆ ก็แค่ ขนาด กำลังไฟ ความเร็ว ประมาณนี้ครับ อื่น ๆ ก็จะมีฟังก์ชันเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เพิ่มเข้ามาเพื่อเป็นลูกเล่นส่งเสริมการขาย ;-)

     สิ่งที่ควรจะคิด ก่อนจะซื้อลู่วิ่งไฟฟ้า ก็ตามนี้เลยครับ


1. ความน่าเชื่อถือของร้านที่ซื้อ ยี่ห้อ การรับประกันสินค้า


     อันนี้เป็นเรื่องสำคัญครับ ถ้าคุณไม่อยากเสี่ยงกับลู่วิ่งไฟฟ้าที่พึ่งซื้อมาแล้วเสียแต่ไม่สามารถทำอะไรได้นอกจาก ซื้อใหม่ :-(

     ควรซื้อยี่ห้อที่มีศูนย์อยู่ในประเทศไทย มีรับประกันอย่างน้อย 1 ปี ถ้าได้ 5 ปีก็จะดีมาก

2. มอเตอร์

     สำหรับคนที่ไม่รู้เรื่องมอเตอร์มาก่อนอาจจะยากหน่อย แต่ไม่เกินไปหรอกครับ กับการที่คุณจะได้รู้ทีหลังว่า คุณตัดสินใจไม่ผิด

     มอเตอร์มีหน่วยวัดเป็น"แรงม้า"ครับ ซึ่งที่มอเตอร์บางยี่ห้อก็บอกเป็น แรงม้าต่อเนื่อง บางยี่ห้อก็จะบอกเป็น แรงม้าสูงสุด อันนี้ต้องแยกดี ๆ ครับ

     สำหรับขนาดที่แนะนำสำหรับวิ่งก็คือ 2.5 แรงม้า(แรงม้าต่อเนื่อง) ขึ้นไปครับ

     ส่วนถ้าคนที่ต้องการซื้อมาเพื่อเดินเป็นหลัก ใช้ 1.5 แรงม้า(แรงม้าต่อเนื่อง) ก็เพียงพอแล้วครับ

3. สายพาน

     สำหรับขนาดที่แนะนำสำหรับวิ่งก็คือ กว้าง 50 ยาว 150 เซนติเมตรขึ้นไป เลือกแบบที่ความหนามากกว่า 2 มิลลิเมตรก็ดีครับ

     หากใช้เดินเป็นหลัก จะลดขนาดลงมาหน่อยก็ได้นะครับ

4. ความเร็วสูงสุด

     หากไม่ได้จะฝึกฝนเพื่อเป็นเป็นนักวิ่งก็ไม่ต้องสนใจข้อนี้มากก็ได้ครับ ส่วนใหญ่ลู่วิ่งไฟฟ้าก็จะเผื่อความเร็วมาให้ระดับหนึ่งแล้ว

5. น้ำหนักที่รับได้

     เผื่อให้เกินน้ำหนักตัวไปด้วยนะครับ ในรายละเอียดจะมีบอกน้ำหนักที่รับได้อยู่ ลองขอพนักงานที่ร้านขึ้นไปลองวิ่งดูเลยครับ ว่ารู้สึกว่าแข็งแรงรับน้ำหนักเราได้สบาย ๆ วิ่งแล้วต้องไม่มีเสียงชิ้นส่วนไหนของลู่วิ่งที่เสียดสีกัน (นอกจากสายพาน)

6. ระบบความปลอดภัย และลูกเล่นอื่น ๆ

     หากเป็นมือใหม่ ลู่วิ่งไฟฟ้าควรจะมีระบบหยุดทำงานเมื่อผู้วิ่งพลาดหกล้ม

     ลูกเล่นอื่น ๆ อันนี้ก็แล้วแต่ความชอบของแต่ละบุคคลแล้วครับ ที่เห็นมีส่วนใหญ่ก็ เช่น ปรับระดับความชันได้ วัดปริมาณแคลอรี่ วัดอัตราการเต้นของหัวใจ เชื่อมต่ออุปกรณ์ฟังเพลง ฯลฯ


ทำไมต้อง ลู่วิ่งไฟฟ้า ?

     ลู่วิ่งไฟฟ้า เป็นอีกหนึ่งเครื่องกีฬา ที่เหมาะสำหรับไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่ โดยเฉพาะอยากยิ่งคนเมือง อย่างคนกรุงเทพ ที่การจะเดินทางไปฟิตเนส หรือ สถานที่ออกกำลังกายต่าง ๆ ใช้เวลามาก คุณสามารถซื้อลู่วิ่งไฟฟ้าวางไว้ที่บ้าน ออกกำลังกายในเวลาไหนก็ได้ ไม่ต้องมีอุปกรณ์กีฬาหลายอย่างมากมาย ไม่ต้องนัดหมายหรือชวนคนอื่นเพื่อจะต้องเล่นเป็นคู่หรือเป็นกลุ่มให้วุ่นวาย

     วิ่ง เป็นกีฬาที่ใครก็เล่นได้ ไม่ต้องฝึกฝน ไม่ต้องใช้ทักษะอะไรมาก เพียงแค่เริ่มต้นจาก ระยะเวลาหรือระยะทางจากน้อยแล้วจึงค่อย ๆ เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ



     หรือถ้าใครไม่สะดวกที่จะซื้อมาไว้ที่บ้าน ก็สามารถไปเล่นที่ฟิตเนสได้ เพราะฟิตเนสแทบจะทุกที่ มีลู่วิ่งไฟฟ้าให้ได้วิ่งทั้งนั้นแหละครับ แถมยังหันไปข้าง ๆ แล้วได้รู้สึกว่ามีเพื่อนร่วมทางวิ่งไปด้วยกัน อาจจะได้เพื่อนใหม่ที่ชอบอะไรเหมือนกัน ๆ ก็เป็นได้

     และส่วนตัวผมรู้สึกว่า การวิ่งบนลู่วิ่ง มันทำให้เราได้อยู่กับตัวเอง มีเวลาให้เราได้คิดทบทวนสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในวัน ๆ หนึ่ง เพราะเราใช้เพียงขาในการวิ่ง ไปช่วงเวลาที่เราไม่ต้องใช้สมองในการคิดคำนวณ วางแผนเหมือนกับกีฬาประเภทอื่น ๆ

     Run ! Forrest Run !